ธรรมศาสตร์ในทัศนะ

สำหรับพี่ ๆ ที่จบไปแล้วครับ

ธรรมศาสตร์ในทัศนะ

Postby pkovitan » Sun Oct 08, 2006 11:16 pm

ผมเคยอ่านเมื่อประมาณ 5 - 6 ปีที่แล้ว ... แล้วก็เก็บไว้ แต่หาไม่เจอ พอดีมีเพื่อนคนนึงส่งมาให้ ก็เลยเอามาให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ อ่านกัน

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ปกติผมไม่ค่อยจะให้คำวิพากษ์ไปกับการส่งต่อจดหมายอิเล็คทรอนิกส์เท่าไหร่

แต่เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อผู้เริ่มต้นแห่งการรังสรรค์เนื้อความแห่งความแยบคายและแหลมคมฉบับนี้
และเพื่อให้เกียรติต่อรุ่นพี่คณะเศรษฐศาสตร์
รหัส 41 ท่านนั้นด้วย

จึงขอกล่าวประกอบสักเล็กน้อย

เนื้อหาที่ประกอบการตอบข้อสอบครั้งนั้น

ในด้านหนึ่งต้องกล่าวขอบคุณท่านอาจารย์เกษียร

ในการเปิดโอกาสให้เกิดการกระหายต่อจินตนาภาพแห่งจิตเดิมอีกครั้ง
ในอีกด้านหนึ่ง คือการขอบคุณท่านอาจารย์อีกครั้ง
สำหรับการสำรวจตรวจตรา
และเลือกสิ่งที่น่าสนใจจากหลายๆความสร้างสรรค์นับร้อย
และอีกด้านหนึ่ง
คือขอขอบคุณจินตนาการที่ไม่ง่ายเลย
จะกลั่นกรองประพันธ์มาเป็นเรื่องราวที่อ่านได้อย่างน่าสนใจ

และถ่ายทอดสู่ท่วงทำนองความรู้สึกได้อย่างลื่นไหลและละมุนละม่อมต่อความขัดข้องใจนานาเหตุทุกประการ
ถ้ามีโอกาส ผมก็อยากจะก้าวไปให้ถึงในจุดนั้นในบางจังหวะบ้าง

หากมองว่าเรื่องราวที่ส่งมานี้
เป็นเรื่องจำเป็นที่สะท้อนถึงมุมมอง
และวิสัยทัศน์ต่อเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้น
และจะเกิดไปอีกห้วงระยะเวลาหนึ่ง
นั่นก็อาจไม่ใช่การกล่าวอธิพจน์เกินไปนัก
เพราะถ้อยคำที่หยิบยกมา
รวมถึงภาพประวัติการณ์และแนวโน้มของสังคมได้อุบัติขึ้น
และดำเนินอยู่จริง เป็นอุบัติการณ์ที่สำคัญ

และผู้คนได้มองข้ามเพราะเป็นธรรมดาสากลสมัยต่อการเคลื่อนไหวของปัจเจกในสังคมที่อ่อนไหวนี้
ทุกแห่งหนได้ยอมจำนนต่ออารยธรรมหลายๆอย่างที่สามารถขัดขืนได้
แต่ไม่พึงกระทำ นั่นเพราะการคลั่งไคล้ไหลหลงไปกับเปลือกฉาบฉวย
และผิวมันวาวของสิ่งยั่วยุที่ไม่จีรังมากมาย
การเข้าถึงจิตวิญญาณนั้น
จึงเป็นเรื่องที่ลำบากและขัดแย้งกับการเติบโตของตลาดอย่างสิ้นเชิง
นั่นเพราะมายาคติของเศรษฐกิจทุนนิยมโลก

ที่ได้ชิงลงมือหลายก้าวในการให้ความหมายต่อโลกาภิวัฒน์ไปก่อนหน้านี้แล้ว
ไม่ว่าจะเป็นก้าวแห่งการกระจายคุณสมบัติของความมั่งคั่งสู่ฐานรากของะระบบสังคม

หรือก้าวแห่งการปลูกฝังนามธรรมที่สำคัญและจำเป็นต่อวัฒนธรรมสังคมต่างๆ
ด้วยการแทนที่วัตถุนิยม
และคุณค่าแห่งการแข่งขันทางกายภาพเข้าไป

การฉีกตัวตนออกมาทำความเข้าใจใหม่อีกครั้ง
จึงเป็นเรื่องสำคัญ
และจำเป็นเสมอมา
แต่หากจะมองว่า
เอาไว้โอกาสหน้า โดยยังไม่เห็นถึงความเร่งด่วนใดๆ
เนื่องเพราะปัจจัยจำกัดมากมายนั้น
ด้วยเนื้อความในบทความนี้ก็คงพอจะชี้ให้เห็นแล้วว่า
การสายเกินแก้
เนื่องด้วยการปล่อยให้พันธนาการเข้าเกาะกุมและผูกมัดจิตใจ

จะทำให้เกิดความยากลำบากในการดิ้นรนปลดเปลื้องสิ่งลวงตาจากตนได้เช่นไร
ในอนาคตที่ถูกมองว่าเป็นปัจจุสมัยอยู่เรื่อยไป

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณจั๊ก สำหรับการส่งต่อจดหมายฉบับนี้มาให้ผม
และขอบคุณเพื่อนๆชาวธรรมศาสตร์ทุกคนที่ผมส่งต่อไปให้อ่าน


*************************************
นศ.ธรรมศาสตร์

จิตวิญญาณธรรมศาสตร์
4 รุ่น :
เกษียร เตชะพีระ

เทอมที่แล้ว
ผมตั้งโจทย์ข้อสอบไล่ข้อหนึ่งแบบบอกล่วงหน้าให้นักศึกษาวิชา
ร.321
การเมืองการปกครองของไทย
ราว 100 คน
ไปค้นคว้าเรียบเรียงมาเขียนตอบในห้องสอบว่า-

จงเขียนบทสนทนาสมมุติขึ้นระหว่างบุคคล 4
คน
ผู้เกี่ยวพันกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในประเด็น
จิตวิญญาณความเป็นธรรมศาสตร์ และ
อนาคตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ใน
15-20
ปีข้างหน้า.....บุคคลทั้ง 4 ได้แก่-
ก) ผู้ประศาสน์การปรีดี
พนมยงค์ ข) ศิษย์เก่า ม.ธ.ก. กุหลาบ สายประดิษฐ์
ค) อธิการบดีป๋วย อึ๊งภากรณ์ ง)

ให้นักศึกษาเลือกสมมุติเองว่าบุคคลที่
4
จะเป็นใคร?.....

ในบรรดาคำตอบทั้งหลาย
มีฉบับหนึ่งของนักศึกษาปีสี่เลขทะเบียน
4104612959
เขียนได้คมคายน่าคิด

ช่วยสะท้อนสภาพและชีวทัศน์ของนักศึกษายุคปัจจุบัน





จึงขออนุญาตคัดตัดต่อบางตอนมาเป็นกำนัลท่านผู้อ่านโดยเฉพาะชาวธรรมศาสตร์ทั้งอดีตและปัจจุบันดังนี้
: -

"วันนี้ผมก็เข้ามาเรียนในธรรมศาสตร์เหมือนอย่างเคยทุกวัน

...
ผ่านมาจะครบ 4 ปี
ผมก็ยังรู้สึกว่าผมยังไม่ได้เป็นนักศึกษาธรรมศาสตร์จริงๆ
สักที
ผมไม่เคยรู้จัก
ม.ธ.ก. และความเป็นมา
ผมไม่ซาบซึ้งกับคำที่พวกเขาพร่ำกล่าวว่า
'จิตวิญญาณธรรมศาสตร์'

นั้นมันเป็นอย่างไร
จนกระทั่ง...คืนนั้นผมเก็บเอาบทเรียนในชั้นไปฝันต่อ...



คอมมอนรูมคณะเศรษฐศาสตร์ที่โต๊ะริมน้ำที่ผมชอบนั่งดูท้องฟ้า

สายน้ำ
แต่วันนี้ที่โต๊ะตัวนั้นมีใครคนหนึ่งนั่งอยู่

นักศึกษา : สวัสดีครับ... รอใครอยู่หรือเปล่าครับ?

ผู้ประศาสน์การ ปรีดี พนมยงค์ : ฉันกำลังรอเธออยู่ มาสิ
มาคุยกัน

นักศึกษา : ท่านเป็นใครหรือครับ ผมไม่เห็นรู้จัก?

ปรีดี : ฉันเติบโตในระหว่างสงครามโลกสองครั้ง
ในยุคที่มีการล่าอาณานิคมกันมาก
ระบบทุนนิยมแพร่หลายและก็พังทลายพร้อมๆ กัน

ฉันไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศสและได้รับเอาแนวคิดประชาธิปไตยมาทำการอภิวัฒน์เมื่อปี
2475

นักศึกษา : งั้นท่านก็คือปรีดี พนมยงค์
ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองสิครับ
แต่เอ!
ช่วงนั้นที่ท่านเป็นผู้ปกครองประเทศ
ทำไมไม่พัฒนาแต่เศรษฐกิจ
แต่มาตั้ง ม.ธ.ก.
ล่ะครับ?

ปรีดี :

ก็ฉันรู้น่ะสิว่าถ้าปล่อยให้ประเทศไทยมีประชาธิปไตยทั้งๆ
ที่คนของเรายังไม่รู้ประสีประสาวิชาการเมือง
คนที่รู้เรื่องมีแต่คนชั้นสูงแล้ว
ประชาธิปไตยของเราจะอยู่ไปได้อย่างไร ฉันก็เลยตั้ง ม.ธ.ก.
ขึ้นเพื่อให้เป็นตลาดวิชาแก่คนที่ใคร่กระหายอยากเรียน
ม.ธ.ก.

สมัยนั้นน่ะใครอยากเรียนก็ได้เรียน
ไม่จำกัดอายุ เพศ ถิ่นที่อยู่
สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม
เพราะไม่ว่าเป็นใครก็มาตักน้ำในบ่อแห่งความรู้ที่ ม.ธ.ก.
นี้กันได้ทุกคน


นักศึกษา : อย่างนี้คนก็เข้ามาสมัครเยอะแยะ
แล้วมีคนจบมากไหมครับ?

ปรีดี : ในช่วงแรกมีคนสมัครเป็นหมื่น
แต่จบกันปีละไม่กี่ร้อยคนเอง
แต่ไม่เป็นไรหรอก
เพราะว่าสิ่งที่ฉันต้องการไม่ใช่นักวิชาการดีเด่นอะไร
เพียงแค่ให้ประชาชนมีสิทธิมีโอกาสเท่าเทียมกันก็พอแล้ว

เพราะจิตวิญญาณของธรรมศาสตร์ในสมัยนั้นน่ะเป็นเหมือนบ่อน้ำแก้กระหายให้กับทุกคน
ใครอยากจะมาดื่มมาอาบก็ได้

อ้าว คุณ กุหลาบ สายประดิษฐ์
มานั่งคุยกันก่อนสิ
นี่น่ะพ่อหนุ่มคนนี้ช่างซักซะจริง เขาอยากรู้ว่า ม.ธ.ก.
ในสมัยของพวกเราน่ะเป็นอย่างไร

นักศึกษา : ครับ คุณตากุหลาบ ผมเคยอ่านงานของคุณตาเรื่อง
'ดูนักศึกษา ม.ธ.ก.
ด้วยแว่นขาว'
เจอประโยคที่ว่า 'ชาว ม.ธ.ก. รักมหาวิทยาลัยของเขา
เพราะว่ามหาวิทยาลัยของเขารู้จักรักคนอื่นด้วย'
มันหมายถึงอะไรหรือครับ?

ศิษย์เก่า ม.ธ.ก. กุหลาบ สายประดิษฐ์ : อ้อ
ก็ตอนนั้นนะธรรมศาสตร์ของเธอน่ะกำลังมีไฟ
ชอบทำกิจกรรมโน่นนี่อยู่เรื่อยๆ
เดี๋ยวก็ไปประท้วงสงครามเกาหลี
ไปคัดค้านรัฐบาล เดี๋ยวก็ร่วมกับชาวนา
กรรมกรมาเรียกร้องไงล่ะ

ก็เพราะธรรมศาสตร์นี่แหละที่สอนให้พวกนักศึกษาที่เข้ามาหัดรู้จักสำนึกถึงผู้อื่น
ถึงคนด้อยโอกาส สอนให้เขารู้ว่าเมื่อมีความรู้แล้ว
ก็อย่าได้กักตัวไว้แต่ในอุปาทานเพื่อตนเอง

แต่ใช้ความรู้ของตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด

เพราะจิตวิญญาณของธรรมศาสตร์ในตอนนั้นเปรียบเหมือนน้ำในกระบวยให้นักศึกษาที่มีโอกาสดีกว่าคนอื่นในสังคมต
ักเอาวิชาความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์
หรือก็คือตักน้ำไปให้คนอื่นเขาได้ดื่มกิน
ได้ลดความกระหายลงไปบ้างไงล่ะ

นักศึกษา : แหม
คุณตาเกิดความรักประชาชนและชาวนาคนยากจนขึ้นมาได้ยังไงครับ?
กุหลาบ : ก็ตอนเด็กๆ ฉันเคยลำบากมาก่อน

กว่าจะโตมาได้แทบแย่

พอจบมัธยมฯ
ก็ต้องออกมาเขียนหนังสือหากิน
ชีวิตมันลำบากมาก

เพราะอย่างนี้ไงฉันถึงได้ดีใจที่มีมหาวิทยาลัยที่คิดจะทำเพื่อสังคมบ้าง

สังคมเราจะได้ดีขึ้น

อธิการบดี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ : อ้าว ท่านปรีดี คุณกุหลาบ
คุยอะไรกัน?
ขอผมนั่งสนทนาด้วยสิ

กุหลาบ : เรากำลังถกกันเรื่อง
'จิตวิญญาณของธรรมศาสตร์'
น่ะคุณป๋วย
แล้วคุณล่ะเห็นเป็นยังไง?

ป๋วย : สำหรับผมน่ะหรือ
ถ้าจะให้ดีขอผมแนะนำตัวก่อนก็แล้วกัน
ผมเป็นลูกจีนที่มาเกิดในไทย
ได้ดีก็เพราะว่าเป็นเด็กเรียนดี
พอผมจบจากธรรมศาสตร์ก็เลยได้ไปเรียนต่อที่
LSE
(London School of
Economics and Political
Science)

จบมาจึงได้มีโอกาสนำความรู้ความสามารถที่ได้ไปศึกษามาใช้พัฒนาประเทศและสังคมของเรา

ผมเห็นความสำคัญของการศึกษามาก ดังนั้น
ตอนที่ผมเป็นคณบดีอยู่ที่คณะเศรษฐศาสตร์

ผมจึงได้ส่งเสริมให้นักศึกษาไปเรียนต่อต่างประเทศให้จบกลับมา
ส่งเสริมให้มีการวิจัยมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาในสังคม
เน้นความเป็นวิชาการของมหาวิทยาลัย

รวมทั้งส่งเสริมให้นักศึกษามีสำนึกต่อสังคมด้วยเพื่อที่จะได้เอาความรู้ที่ได้มาช่วยกันพัฒนามหาวิทยาลัยแ
ละบ้านเมืองของเรา

จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ในสมัยผมจึงเป็นเหมือนเขื่อนกั้นน้ำที่ต้องใช้ความรู้

เทคโนโลยีขั้นสูงในการสร้าง

แต่ว่ามันจะส่งผลประโยชน์ให้แก่คนหมู่มากถ้าเรามีคลองชลประทานที่ดี
ก็เหมือนที่ผมสร้างนักศึกษาขึ้นมาให้มีความรู้ความสามารถ
ให้ไปช่วยบริหารพัฒนาประเทศ
โดยที่เขาจะต้องรู้จักขุดคลองให้น้ำไหลไปถึงคนยากจนด้วย
นโยบายหรือการกระทำของเขาจะได้เกิดประโยชน์ตกถึงชาวนา
กรรมกร


กุหลาบ : แล้วพ่อหนุ่มล่ะ
มองมหาวิทยาลัยของเธออย่างไรบ้าง?

นักศึกษา : ผม...

ผม...ไม่อยากจะบอกว่า...ผมต้องขอโทษทุกท่านด้วยที่ธรรมศาสตร์ที่ทุกท่านสร้างเอาไว้ตอนนี้
สำหรับผมมันเป็นเครื่องชุบตัว

การที่คนชั้นกลางอย่างผมเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงแห่งนี้ก็เพียงเพื่อต้องการจะยกระดับฐานะ

ทางเศรษฐกิจและสังคมของตัวเอง

ผมหวังจะได้เกียรตินิยมเพื่อที่จะได้มีโอกาสดีกว่าเวลาไปสมัครงาน

ใช่ ถึงแม้ผมจะเคยทำกิจกรรมที่คณะมาบ้าง
แต่มันก็ไม่ได้ทำให้ผมรักประชาชนขึ้นมาเท่าไรนัก
หรือจะมีก็เพียงชั่วคราว

ผมมองธรรมศาสตร์ไม่ต่างจากคนทั่วไปที่เห็นมันเป็นบันไดไปสู่เกียรติยศชื่อเสียง
ใช่...พ่อแม่
ครอบครัวของผมก็คิดเช่นนี้
เขาอยากให้ผมได้เกียรตินิยม
ไปเรียนต่อ

พวกเขาพูดเสมอว่าอย่าได้ไปประท้วงกับคนอื่นนะเดี๋ยวโดนจับ

เปล่าเลย ผมไม่ได้โทษพวกท่าน
เพียงแต่จะให้ผมกลายเป็นคนอย่างที่คุณตาบอก
อย่างที่อาจารย์พูดได้อย่างไรในเมื่อผมขับรถมาเรียน
ผมฟังเพลงฝรั่ง
เพื่อนๆ
ผมทุกคนต่างก็มีแนวความคิดไม่ต่างกัน คนอย่างที่คุณตาบอก
ผมไม่ยักเจอ
หรือถึงเจอผมก็คงไม่รู้จักเขา

เพราะจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ในสายตาของผมเป็นเหมือนน้ำบรรจุขวดที่มีใบรับประกันคุณภาพยี่ห้อธรรมศาสตร์

เป็นขวดน้ำที่ผมจะสามารถเอามันไปโชว์คนอื่นว่าผมมีน้ำนะ
แต่คุณไม่ได้กินมันหรอก
เพราะผมต้องใช้มันเพื่อยกฐานะของผม ของครอบครัวผม
และญาติมิตรสนิททั้งหลาย
รอให้ผมใช้เหลือก่อนก็แล้วกัน
คุณอาจจะได้รับบริจาคบ้างก็ได้

ปรีดี : ฉันก็เห็นมานานแล้วล่ะความเป็นไปของที่นี่
ฉันเฝ้ามองผู้คนผ่านไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า

ความคิดของแต่ละคนแต่ละยุคก็แตกต่างกันไปแล้วแต่ว่าพวกเขาจะเผชิญกับสถานการณ์อะไร
ฉันไม่โทษเธอหรอกที่เธอเป็นและคิดแบบนี้
เพราะฉันเชื่อว่าคนอย่างเธอถ้าเกิดในตอน 14 ตุลาคม

เธอก็คงเป็นคนหนึ่งที่ไปเดินประท้วงร่วมกับนักศึกษาสมัยนั้นแน่ๆ

นักศึกษา :
แต่บางทีผมก็เป็นห่วงมหาวิทยาลัยของเราเหมือนกันนะครับ
เดี๋ยวนี้แม้กระทั่งจะเข้าห้องสมุด
คนที่ไม่ใช่นักศึกษายังเข้าไม่ได้เลย
หรือเข้าได้ก็ต้องเสียสตางค์

แล้วอย่างนี้จะหวังให้เปิดโอกาสแก่คนชั้นล่างเข้ามาเรียนเหรอ
อย่าฝันเลยดีกว่า
...
แม่ค้าก็เป็นแม่ค้าเงินล้าน ต้องมีเงินทุนเป็นกระตั้ก
อีกหน่อยสงสัยจะมี
Pizza
Hut

เข้ามาขายในมหาวิทยาลัยด้วย

ต่อไปใครจะเข้าหรือเดินผ่านมหาวิทยาลัยคงต้องตรวจบัตร
เป็นมหาวิทยาลัยล้อมรั้ว ปิดกั้นจากสังคม นับวันเพื่อนๆ
ของผมก็มักจะไม่ค่อยสนใจเรียน

พวกเขาเอาแต่จะคอยอ่านสรุปเล็กเชอร์เพื่อน
ไม่ได้สนใจความรู้อะไรอย่างที่อาจารย์ป๋วยกล่าวหรอกครับ
เขาต้องการแต่วุฒิ เวลาผมชวนเรียนวิชาอะไรยากๆ แต่น่าสนใจ
พวกเขาก็ไม่เอา
เพราะกลัวได้เกรดไม่ดี
ผมเห็นแล้วก็ยังเศร้าใจ

หรือจะพูดถึงงานเพื่อสังคมซึ่งมันเป็นสิ่งที่ผมไม่ค่อยสันทัดเท่าใดนัก
ผมว่ามันก็ยังพอมีอยู่บ้างนะครับ พวกค่ายพัฒนาชนบท
ค่ายอนุรักษ์ธรรมชาติพวกนี้

แต่ผมว่ามันกลายเป็นค่ายประเพณีมากกว่า

คือคนจัดจัดค่ายโดยมีสำนึกว่าต้องจัดให้ได้เพื่อที่จะสานงานค่ายของคณะต่อ

สรุปแล้วผมว่าไม่ว่าจะมองด้านไหน
จิตวิญญาณแบบของพวกท่านทุกคนได้เสื่อมไปหมดแล้ว
มีแต่แบบของผมนี่ล่ะครับที่จะเฟื่องฟูขึ้นเรื่อยๆ
ต่างคนต่างต้องการจะได้วุฒิ
มหาวิทยาลัยเปิดภาคปริญญาโทมากขึ้น
ภาคภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น....

จากมติชน

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เด็กคอม จะคิดยังไงกันบ้าง อยากรู้
User avatar
pkovitan
VIP Member
 
Posts: 48
Joined: Wed Jul 06, 2005 4:11 pm
Location: ใต้ต้นไม้ในสวนคอม

Return to Com-Sci (CS1 - 17)

Who is online

Users browsing this forum: No registered users and 1 guest

cron